![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhwEt5DPYLl8zpwegR8BEFr_ZPe5lWCM21MBl7JEovfwNX1HEaOUAdbWwDbrFUiPYOXWmFz8WbA8KqI8rZSlox4fUgeMX0EMJpyp-dPJvlTtH0fvbY88uiZnv67JZe7Cw62WrLcf8clmqSl/s320/DSCF8375.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgtarw8YtifAmqHkg5WXL2FRwfK1o_9TWdkl_hkcKEckED6GmdcgdzUKBbwiaa00qZrNju00VgSXetC0hWPcJHTpXxBeMf0EWcni9l1-Rc8PEQhrSJo5_8f0yheD_61YbG6s6hIyxu5gkpe/s320/brt+fish-resize.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhUTqJvSaQ6oNdXH-9kGgi9uy0t6o5g8nB_EuP-kmlXEFYGBiARzg40z-AOBjMzKCGcWmne8kwGv04vOx_hTNv1fZqPKzQIG4OFj9LGeun5DWpvwBhYsvrrQzn_9iZHqXFwdFsGMw60haSC/s320/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B2+%28Phylum+Chordata%291.jpg)
ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata)
จาก ที่คาดว่าโลกนี้มีสิ่งมีชีวิตมากกว่า 50 ล้านชนิด เป็นสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อแล้ว 1.7 ล้านชนิด เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง 43,853 ชนิด ชนิด ที่พบได้ในประเทศไทยและตั้งชื่อแล้ว 4,094 ชนิด นับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตอีกกลุ่มที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของโลก และมนุษย์อย่างยิ่ง
สิ่งมีชีวิตในไฟลัมคอร์ดาตาทั้งหมดเป็นสัตว์หลายเซลล์ที่ไม่สามารถ สร้างอาหารได้เองและต้องการใช้ออกซิเจนในการสร้างพลังงาน พวกคอร์เดตโดยทั่วไปจะมีบางลักษณะคล้ายคลึงกับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่บางลักษณะก็แตกต่างกันอย่างมากมาย เช่น มีสมมาตรแบบครึ่งซีก (bilaterally symmetrical) ร่างกายมีลักษณะเป็นปล้อง และมีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น การเกิดช่องตัวเป็นแบบเอนทีโรซีลา (enterocoela) เช่นเดียวกับพวกเอคไคโนเดิร์ม (เป็น Deuterostromes เช่นเดียวกับเอคไคโนเดิร์ม) มีระบบอวัยวะที่แบ่งหน้าที่กันเป็นอย่างดี ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นระบบปิดโดยมีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่าง กาย และมีเพศแยกกันเป็นต้น
ลักษณะที่สำคัญ
1. การมีโนโตคอร์ด (notochord) พวกคอร์เดตทุกชนิดจะต้องมีโนโตคอร์ดอย่างน้อยช่วงหนึ่งของชีวิต พวกคอร์เดตชั้นต่ำ เช่น แอมฟิออกซัสจะมีโนโตคอร์ด ตลอดชีวิต พวกคอร์เดตชั้นสูงเช่นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังจะมีโนโตคอร์ดในระยะตัวอ่อน เท่านั้น พอเจริญเติบโตจะเกิดกระดูกสันหลังขึ้นมาแทนที่โนโตคอร์ด ลักษณะของโนโตคอร์ดจัดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้น มีโซเดิร์ม ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่ค่อนข้างอ่อนคล้ายวุ้น แต่มีเปลือกหุ้ม (sheath) หุ้มอีกชั้นทำให้มีลักษณะเป็นแท่งแข็งแรง แต่ยืดหยุ่นได้ดี และไม่แบ่งเป็นปล้อง แท่งโนโตคอร์ดเป็นโครงสร้างค้ำจุนที่อยู่ทางด้านหลังใต้ระบบประสาทส่วนกลาง แต่อยู่เหนือทางเดินอาหาร notochord = a rod-shaped supporting axis, or backbone
2. การมีช่องเหงือก (pharyngeal gill slits) คอร์เดตทุกชนิดโดยเฉพาะพวกที่อยู่ในน้ำจะมีช่องเหงือกตลอดชีวิต ส่วนพวกที่อาศัยอยู่บนบกจะพบช่องเหงือกในระยะตัวอ่อนเท่านั้น เมื่อเจริญเติบโตขึ้น ช่องเหงือกจะปิดซึ่งอาจจะพบร่องรอยเพียงเล็กน้อย (ในคนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นท่อยูสเตเชียนเชื่อมระหว่างหูส่วนกลางกับหลอด ลมบริเวณคอ) การเกิดช่องเหงือกจะเกิดขึ้นในบริเวณคอหอยของตัวอ่อน โดยบริเวณคอหอยจะโป่งออกไปนอกผิวตัวทางด้านข้างและมีรอยแตกเป็นช่องเหงือก ซึ่งเป็นอวัยวะหายใจ พวกแอมฟิออกซัส ปลาปากกลม ปลาฉลาม ตลอดจนปลากระดูกแข็งจะดูดน้ำเข้าทางปากและผ่านออกทางช่องเหงือก ทำให้เกิดการหายใจขึ้น พวกสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่บนบกและหายใจด้วยปอดจะมีช่องเหงือกในระยะตัว อ่อน และ (อาจจะ) ทำหน้าที่หายใจในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น
3. การมีระบบประสาทด้านหลัง (Dorsal Hollow Nerve Cord) คอร์เดตทุกชนิดจะต้องมีโครงสร้างนี้ตลอดชีวิตมีลักษณะเป็นท่อยาวตลอดลำตัว ทางด้านหลัง เส้นประสาททางด้านหัวอาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นสมอง ส่วนทางด้านท้ายเจริญเป็นไขสันหลัง (spinal cord) การเกิดระบบประสาทนี้เกิดขึ้นในระยะตัวอ่อน โดยการม้วนตัวเข้าหากันของเนื้อเยื่อชั้นเอคโตเดิร์มทางด้านหลังกลายเป็นท่อ ฝังอยู่ใต้ผิวหนัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น